promotion

เกมส์วิศวกรน้อย ชุดใหญ่ สำหรับวัย 2-80 ปี

Full option สำหรับ พ่อ แม่ ลูก เล่นได้ทั้งครอบครัว

วิศวกรน้อยชุดใหญ่

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

บรรยากาศการทดลองเล่นเกมส์วิศวกรน้อยภายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
 

ของเล่นวิศวกรน้อย เป็นกล่องกระดาษ ภายในกล่องมี กล่องใส่ 7 ด่าน มีตัวเกม9 ตัว วิธีเล่น ให้ นำตัวเกมทั้ง9ใส่เรียงลงกล่องแต่ละด่านให้ได้ รูปภาพหน้ากล่องนั้น มีรูปผู้ใหญ่สูงอายุสวมแว่นตา ทำหน้างงๆ คิดไม่ออกอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวามีรูปเจ้าแกละที่มีหน้าตาสดใส ฉลาดและคิดในใจว่า ง่ายมากถ้าคิดเป็นระบบ ซึ่งมีความหมาย ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ของเล่นชุดนี้สร้างความประหลาดใจดังนี้

1. อาม่าจู้จี้ ขี้บ่น หลานสาวซื้อไปให้เล่น ก็สามารถทำให้หยุดบ่นไปหลายวัน

2.วิทยากรอบรมบุคคลากรหลายท่านได้นำ “ของเล่นวิศวกรน้อย” มาใช้เป็นกิจกรรมร่วมในการอบรม

3. อาจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องเด็กอัจฉริยะ จะต้องมี “ของเล่นวิศวกรน้อย” หลายชุด ไว้ในห้องค้นคว้าหรือห้องของเล่น

4. มีโรงเรียนแห่งหนึ่ง นำของเล่นดีๆ จากทั่วโลกมาสะสมไว้ ข้าพเจ้าถามว่า เด็กชอบของเล่นชนิดใดมากที่สุด ท่านบอกว่า วิศวกรน้อย จราจรอัจฉริยะ SNAKE BALL ติด1 ใน 10

5. คนไทยหลายท่านที่มีลูกหลานในต่างประเทศนิยมซื้อ ของเล่นวิศวกรน้อยหลายชุดไปฝาก ด้วยความภาคภูมิใจที่มีขายในประเทศไทย ซึ่งมีแห่งเดียวในโลก

6. เด็กวัย 2 ขวบขึ้นไปชอบเล่นของเล่นชุดนี้ ได้อย่างสนุก หลายครั้งที่ผู้ใหญ่แย่งเด็กเล่น

7. ในโลกนี้มีของเล่นชนิดใดบ้างที่ผู้พิการทางสายตามองไม่เห็นเล่นได้ แต่ของเล่นวิศวกรน้อยทำได้ โดยมีท่านหนึ่งเล่นได้ถึงด่านที่ 7 ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้

8. โรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยมและมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีของเล่นชุดนี้ไว้ในห้องสมุด ห้องคณิตศาสตร์แม้กระทั่งห้องสังคม ห้องภาษาไทยก็มีกับเขาด้วย มีหลายชุดต่อห้อง

9. เด็ก ดาวน์ซินโดรม(ปัญญาอ่อน) เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กที่ขาดความอดทน จะเล่น ของเล่นวิศวกรน้อย ได้ต่ำกว่าเกณฑ์

ที่กำหนดไว้มาก ในทางตรงข้ามเด็กอัจฉริยะ เด็กที่เรียนเก่งได้สอบเลขตัวเดียวของห้องจะเล่นได้สูงกว่าเกณฑ์มาก

10. ของเล่นวิศวกรน้อยเล่นได้ทุกวัย วัยเด็กเล็ก(เล่นเพื่อให้ทันสมองรุ่นพี่ โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นพี่เลี้ยง) ผู้ใหญ่สูงอายุ (เล่นเพื่อออกกำลังสมอง) คนพิการทางสายตา คนใบ้ ปัญญาอ่อน ออทิสติก สมาธิสั้น เล่นได้ ยกเว้น เด็กต่ำกว่า 2 ขวบ คนบ้าหรือคนที่ยังไม่มีอารมณ์จะเล่น

11. ประเทศอิสรเอล ก็สั่งไปขายโดยใช้ชื่อกล่องว่า HIGH-CUBE

จาก อ. ธัญ เสรีรมย์


กระบวนการคิด คือการคิดอย่างเป็นระบบกับปัญหาที่ซับซ้อน สอนยาก บังคับกันไม่ได้ ให้รางวัลไม่ได้ ให้ทำตามก็ไม่ได้ แต่ยั่วยุได้ วิศวกรน้อย ชุดใหญ่ จะช่วยยั่วยุให้เด็กคิดจากง่ายไปหายาก

เกมส์วิศวกรน้อย ชุดใหญ่ เป็นเกมส์ที่มีตัวเกม 9 ชิ้น และกล่องทดสอบความสามารถ 7 ด่าน ซึ่งจะผันแปรได้ตามสภาพประมาณ 1,000 แบบโดยไม่ซ้ำกัน แต่ละด่านจะเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงเด็กใหญ่ ของเล่นชุดนี้เล่นไม่ง่าย และไม่ยากเกินไป ท้าทายความคิด ความสามารถ ตลอดจนคลายเหงาได้

ของเล่นชุดนี้ยังเป็นของเล่นเพื่อการศึกษา และเป็นเครื่องมือวัดจำแนกไอคิวของเด็กได้ โดยผู้ปกครองสามารถสังเกตจากการเล่นของเด็กว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด จากความง่ายยากของเกมนั่นเอง

ของเล่นชุดนี้จะช่วยส่งเสริมเชาวน์ปัญญา ความสามารถในการเรียนรู้ การเจริญเติบโตทางสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี

 ประโยชน์จากของเล่น เกมส์วิศวกรน้อย ชุดใหญ่

1. ให้ความสนุก เล่นแล้วเพลิดเพลิน เพราะการเล่นเกมที่มีหลายรูปแบบ ประมาณ 1,000 แบบไม่ซ้ำกัน และมีด่านทดสอบความสามารถจากง่ายไปสู่ยาก 7 ด่าน เล่นได้บ่อยครั้งไม่เบื่อง่าย

2. ปลูกฝังความรู้ด้านคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องความคิดเป็นนามธรรม เด็กจะไม่ค่อยชอบ แต่ของเล่นวิศวกรน้อยเป็นเรื่องการคิดที่เป็นรูปธรรม โดยใช้กฎคณิตศาสตร์เดียวกัน ดังนั้น ของเล่นชุดนี้จะปลูกฝังกฎคณิตศาสตร์ หรือกฎความฉลาดให้กับเด็ก ซึ่งเด็กสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างอัตโนมัติ

3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา และกระบวนการคิด คือในชีวิตประจำวัน เด็กจะก้าวสู่จุดหมายปลายทางได้จะต้องผ่านกติกา และปัญญาหาต่างๆ ทางสังคมมากมาย ฉะนั้นในการเล่นเกมนี้ก็จะเผชิญปัญหาต่างๆ ในที่สุดเด็กจะหัดแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เด็กจะภูมิใจ และดีใจเมื่อแก้ปัญหานั้นๆได้สำเร็จ จากกระบวนการคิดของตนเอง

4. ฝึกความอดทน เกมนี้เล่นไม่ยากเกินไป และไม่ง่ายเกินไป ท้าทายความสามารถความคิดของเด็ก เกมนี้สามารถทำนายผลการเรียนของเด็กได้ หรือทำนายเชาวน์ปัญญาของเด็กได้ ตามที่ อ.ธัญ เสรีรมย์ ได้ติดตามและสังเกตมา พบว่า

- เด็กที่เล่นเกมไม่สำเร็จ โดยเลิกกลางครัน มักจะเป็นผู้ที่ไม่ชอบการต่อสู้ ยอมแพ้ต่อปัญหา จะเป็นเด็กที่เรียนไม่ค่อยเก่ง

- เด็กที่เล่นเกมนี้จนสำเร็จ แม้ว่าจะใช้เวลามาก หรือน้อยก็ตาม แสดงว่าเด็กคนนี้การเรียนพอใช้ หรือเรียนดี เพราะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ภายใต้กฎกติกา หรือกฎกติกาของสังคมได้

- เด็กที่เล่นเกมได้เกินกว่าวุฒิภาวะที่กำหนดไว้ มักจะเป็นเด็กที่เรียนดีเลิศเชาวน์ปัญญาดี

5. สร้างสรรความคิด เด็กอาจประกอบเป็นรูปต่างๆ ได้ตามใจนึก โดยอาศัยจังหวะการเข้ามุมเข้าเหลี่ยมของชิ้นส่วนในเกม เช่นประกอบเป็นรูปหุ่นยนต์, บ่อน้ำ, เตียงนอน, เก้าอี้ เป็นต้น หรือประกอบเป็นรูปอื่นๆตามคู่มือแนะนำ

 

 ของเล่น วิศวกรน้อย กับ กฎคณิตศาสตร์ หรือกฎธรรมชาติ หรือกฎความฉลาด

1. กฎการต่อ (Combination Law) คือ การเรียงต่อเนื่องกันอย่างมีระบบ ในธรรมชาติ เช่น สัญชาติญาณการสร้างรังของ ผึ้ง ปลวก และมด

2. กฎเอกลักษณ์ (Identity Law) คือ ลักษณะเฉพาะตัวในธรรมชาติ เช่น สัญชาติญาณแม่ปลาวาฬจำลูกตัวเองได้ ส่วนปลาชอนไม่มี สุนัขจำเจ้าของได้ ส่วนงูไม่มี ปกติสัตว์ชั้นสูงจะมีกฎข้อนี้

3. กฎการสมมาตร (Symmetry Law)คือ การแบ่งภาพออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เมื่อพับตามรอยแบ่ง จะได้ด้านซ้ายทับด้านขวาพอดี ในธรรมชาติ เช่น สัญชาติญาณของนกหงส์หยกที่ชอบส่องกระจก ส่วนปลากัดไม่มี ลิงไม่มี
4. กฎการอินเวอร์ส (Inverse Law) คือ การย้อนกับหรือการถอยหลังกลับ ในธรรมชาติมีในมนุษย์เท่านั้น ลิงไม่มี ตัวอย่างเช่น การทดลองใช้ลูกมะพร้าวเจาะรูให้มีขนาดมือลิงล้วงได้พอดี ให้ลิงล้วง เมื่อลิงล้วงมือเข้าไปในลูกมะพร้าว ลิงจะคว้านเนื้อมะพร้าวกำมือไว้ ทำให้ลิงดึงมือตนเองออกจากลูกมะพร้าวไม่ได้ มือจะติดเพราะลิงไม่ยอมแบมือด้วยความเสียดายอาหาร และลิงไม่สามารถแยกแยะหลักการย้อนกลับ (แบมือ) ได้ เพราะเป็นการอินเวอร์สที่ซับซ้อน

5. กฎการสลับที่ (Commutative Law)คือ การสับเปลี่ยนที่อยู่กัน ในธรรมชาติ เช่น นกที่มีคู่จะคอยพลัดกันกกไข่ นกกาเหว่ามีสัญชาติญาณสลับไข่ของตนเอง กับนกอื่นๆ เพื่อให้นกนั้นฟักไข่แทนตน

6. กฎการจัดกลุ่ม (Associative Law) คือ กลุ่มต่างๆที่มีการจัดหมู่ หรือประสานกันตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไป ในธรรมชาติ เช่น โขลงช้าง ฝูงวัว ฝูงผึ้ง ฝูงนกกระยาง เป็นต้น
7. กฎเงาของรูปทรง (Projection Law) คือ การมองหรือจินตนาการภาพ 3 มิติ ให้เป็น 2 มิติ หรือจินตนาการภาพ 2 มิติ ให้เป็น 3 มิติ ซึ่งมีในสัญชาติญาณของมนุษย์เท่านั้น

8. กฎการเท่ากัน (Equality Law) คือ ของสองสิ่งที่มีรูปร่าง และขนาดเท่ากันพอดี มนุษย์มีสัญชาติญาณ บอกได้ว่าอะไรเท่ากัน โดยการคาดคะเน การคำนวน และการวัดด้วยเครื่องมือธรรมดา หรือเครื่องมือชั้นสูง แต่ในสัตว์ไม่มีกฎนี้

9. กฎการคล้ายกัน (Similarity Law) คือ สิ่งสองสิ่งที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดไม่เท่ากัน มนุษย์มีสัญชาติญาณสามารถบอกได้ว่า ของสองสิ่งคล้ายกันหรือไม่ และนำไปเปรียบเทียบ เลียนแบบที่จะประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ขึ้นใช้
10. กฎการถ่ายทอด (Transitive Law) คือ การสืบต่อที่มีความสัมพันธ์กับอย่างมีเหตุผล
11. กฎการเรียงลำดับ (Sequence Law) คือ การเรียงเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างต่อเนื่อง มนุษย์สามารถลำดับเรื่องราวต่างๆ ตามลำดับเวลา และสามารถเรียงลำดับที่ซับซ้อนให้เป็นระบบจากง่ายไปยาก

12. สถิติ (Statistics) คือ การศึกษาข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการกระทำสิ่งนั้นๆ มนุษย์มีความฉลาด ก่อนตัดสินใจทำกิจกรรมใด้ๆ จะศึกษาข้อมูลก่อนเสมอ

13. ความน่าจะเป็น (Probability)คือ การคาดการณ์ล่วงหน้าของเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น มนุษย์สามารถจะทำนายเหตุการณ์ข้างหน้าโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น

มนุษย์มีความสามารถใช้กฎเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี และใช้ได้อย่างซับซ้อน คนที่ฉลาดจะแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากๆหลายชั้นได้ดีกว่าคนธรรมดา เพราะคนที่ฉลาดมีจินตนาการสูง และใช้กฎเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี สามารถมองเห็นนามธรรมได้ชัดเจน รู้จักการวางแผนที่เป็นระบบ และมีขั้นตอนที่ชัดเจนไว้ในสมอง หรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนในสัตว์ไม่มี

เป็นเรื่องน่าคิดที่เชาวน์ปัญญาทั้ง 13 ข้อ ที่กล่าวมานี้ จะเกิดเป็นความคิดของมนุษย์ได้ ต้องได้รับการฝึกฝนก่อน เสมือนเป็นสัญชาติญาณที่สามารถนำออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การว่ายน้ำ มนุษย์จะว่ายน้ำได้ต้องมีการฝึกหัดก่อน แต่สัตวน์ เช่น ลิง สุนัข วัว ไม่ต้องฝึกก็เป็นเองได้โดยสัญชาติญาณ

แม้แต่คนพิการทางปัญญา ก็ยังจัดว่าฉลาดเหนือกว่าลิง หรือสัตว์อื่นๆ นกแก้วเรานำมาฝึกพูดภาษามนุษย์ได้ในวงจำกัดเท่านั้น ลิงชิมแปนซีเราสามารถนำมาฝึกหัดการกระทำกิจกรรมต่างๆได้ ก็ในวงจำกัดเช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะสัญชาติญาณของสัตว์จะคงที่ไม่สามารถพัฒนาได้ ส่วนมนุษย์มีสัญชาติญาณที่สามารถพัฒนาได้เมื่อมีการฝึก ซึ่งความจริงในข้อนี้ตรงกับแนวคิดของ "Maria Montessori" นักจิตวิทยาชาวอิตาลีที่ได้บันทึกไว้

 

ส่วนประกอบของ เกมส์วิศวกรน้อย ชุดใหญ่

เกมส์วิศวกรน้อย ชุดใหญ่

เกมส์วิศวกรน้อย ชุดใหญ่ 1 ชุดประกอบด้วย

1. คู่มือการเล่น 1 เล่ม

2. ตัวเกมส์ 9 ชิ้น

3. กล่องทดสอบความสามารถ 7 ด่าน

4. กล่องสำหรับเก็บเกม 1 กล่อง

 

วิธีการเล่น วิศวกรน้อย ชุดใหญ่

การเล่นแบบที่ 1 นำตัวเล่นบรรจุลงในกล่องทดสอบความสามารถให้เต็ม จากด่านง่ายไปสู่ด่านยาก มีทั้งหมด 7 ด่าน

ด่านที่ 1 บรรจุกล่องได้ 500 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 5 นาที

ด่านที่ 2 บรรจุกล่องได้ 100 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 8-11 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 10 นาที
ด่านที่ 3 บรรจุกล่องได้ 50 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 12-13 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 15 นาที
ด่านที่ 4 บรรจุกล่องได้ 20 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 14-15 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 20 นาที
ด่านที่ 5 บรรจุกล่องได้ 18 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 14-15 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 30 นาที
ด่านที่ 6 บรรจุกล่องได้ 6 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 16-17 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
ด่านที่ 7 บรรจุกล่องได้ 3 วิธี / สำหรับเด็กอายุ 18-80 ปี / ถ้าผู้ใหญ่ใช้เวลา 1 วัน

การเล่นแบบที่ 2 ต่อเป็นรูปแบบต่างๆ ที่เป็นระบบตามจิตนาการ และตามหนังสือคู่มือได้กว่า 1,000 แบบ

หมายเหตุ สำหรับเด็กวัย 2-5 ปี มีคู่มือแนะนำคุณแม่สอนลูก
 
รายการสินค้าอื่นๆ
วิศวกรน้อย ชุดเล็ก   วิศวกรน้อย ชุดใหญ่   จราจรอัจฉริยะ ภาค 2  
Snake Ball   คณิตศาสตร์ยุค 3003 เล่ม 1   คณิตศาสตร์ยุค 3003 เล่ม 2  
หนังสือแววฉลาด เล่ม 1   หนังสือแววฉลาด เล่ม 2   บวกเลขปุ๊บปั๊บ